การทอดกฐินในปัจจุบัน

logologo

 

 

 

 

 

 

 

 

๑.พระกฐินหลวง เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราชินีพระราชโอรสพระราชธิดาเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราช กรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้งพระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จ ฯ แทนพระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ

กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๒ พระอาราม
- ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- ๒. วัดอรุณราชวราราม
- ๓. วัดราชโอรสาราม
- ๔. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- ๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- ๖. วัดบวรนิเวศวิหาร
- ๗. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
- ๘. วัดสุทัศนเทพวราราม
- ๙. วัดราชาธิวาส
- ๑๐. วัดมกุฏกษัตริยาราม
- ๑๑. วัดเทพศิรินทราวาส
- ๑๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

จังหวัดนครปฐม จำนวน ๑ พระอาราม
๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๒ พระอาราม
- ๑๔. วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอิน
- ๑๕. วัดสุวรรณดาราราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๑ พระอาราม
- ๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองพิษณุโลก

 

๒. พระกฐินพระราชทาน คือ พระกฐินที่ถือว่า ผ้าพระกฐิน บริขาร และบริวารกฐิน เป็นของหลวง แต่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ องค์กร หรือบุคคลที่สมควร ขอรับ
พระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่าง ๆ นอกจากพระอารามหลวงสำคัญ๑๖
พระอารามดังกล่าว รัฐบาลโดยกรมการศาสนาจัดหาผ้าพระกฐิน และบริวารพระกฐิน
(ปัจจุบันมีจำนวน ๒๖๕ พระอาราม มีรายชื่อตามบัญชีพระอารามหลวง) ซึ่งส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ สมาคม บริษัทห้างร้าน และบุคคลทั่วไป จะต้องยื่นความจำนงขอพระราชทาน
ผ่านไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อถึงกำหนดกฐินกาลก็ติดต่อขอรับ
ผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจาก กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เพื่อนำไปทอด ณ พระอารามที่ขอรับพระราชทานไว้เมื่อทอดถวายเรียบร้อยแล้วผู้ขอรับพระราชทานจะ ต้อง
จัดทำบัญชีรายงานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ส่งไปยัง
กรมการศาสนา เพื่อจะได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ส่งไปยัง
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายพระราชกุศลในการที่หน่วยงาน องค์กร
หรือบุคคลทั่วไป อัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวาย ณ อารามนั้น

 

๓. กฐินทั่วไป หรือที่เรียกว่า “กฐินราษฎร์” เป็นการถวายผ้ากฐินที่พุทธศาสนิกชน
ทั่วไป มีความประสงค์จะนำไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดใดวัดหนึ่ง
ที่เป็นวัดราษฎร์ (ไม่ใช่พระอารามหลวง) ซึ่งผู้ที่มีความประสงค์จะทำบุญทอดกฐิน ณ
วัดใดวัดหนึ่ง (ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ถวายผ้าพระกฐิน แด่พระสงฆ์ ที่
จำพรรษาถ้วนไตรมาส ในวัดราษฎร์ เรียกว่า “พระกฐินต้น”) มีขั้นตอนและพิธีการดังนี้


- การจองกฐิน โดยผู้ที่จะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็แจ้งให้เจ้าอาวาสหรือทางวัดทราบว่า จะนำผ้ากฐินมาทอดถวายที่วัดนี้
- เมื่อใกล้จะถึงกำหนดกรานกฐิน ให้นัดวัน เวลา ที่จะนำผ้ากฐินมาถวายแด่พระสงฆ์นั้น
- จัดหาผ้าไตร(ถ้าเป็นคณะสงฆ์ธรรมยุตจะต้องมีผ้าขาวด้วย)พร้อมทั้งจัดหา เครื่องบริวารกฐินอื่นๆ ตามกำลังศรัทธาของเจ้าภาพเพิ่มเติม

เมื่อถึงกำหนดวันทอดกฐิน ผู้เป็นเจ้าภาพจะจัดให้มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์
ฉลององค์กฐินหรือไม่ก็ได้ วันรุ่งขึ้นเมื่อจะทำพิธีถวายผ้ากฐิน ให้นำพานแว่นฟ้าที่มีผ้ากฐิน
บริขาร และบริวารเครื่องกฐินทั้งหมด วางไว้เบื้องหน้าพระสงฆ์ เมื่อจุดธูปเทียนบูชา
พระประธานในอุโบสถหรือที่โต๊ะหมู่สำหรับบูชาพระรัตนตรัยเรียบร้อย
- ศาสนพิธีกรอาราธนาศีล
- ประธานสงฆ์ให้ศีล
- ประธานพิธีหรือศาสนพิธีกรกล่าวนำคำถวายผ้ากฐิน

 

 

Free Web Hosting